วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ไป ดู ลิง กัน เถอะ!


วนอุทยานโกสัมพี

  

วนอุทยานโกสัมพี (KOSUMPEE FOREST PARK) ตั้งอยู่ในเขตท้องที่เขตเทศบาลเมืองโกสุมพิสัย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม บริเวณ เขตวนอุทยานโกสัมพี มีเนื้อที่ ประมาณ 125 ไร่ ประกอบด้วยพื้นที่ดำเนินการ 2 ส่วน พื้นที่ส่วนที่ 1 ใช้สร้างอาคารสำนักงาน บ้านพักรับรอง บ้านพักเจ้าหน้าที่และอื่น ๆ พื้นที่ส่วนที่ 2 ใช้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าใช้สำหรับศึกษาธรรมชาติ และพักผ่อนอันประกอบไปด้วยป่าไม้ ลำน้ำชี แก่งตาด ลานข่อย และฝูงลิงแสม

ประวัติวนอุทยานโกสัมพี
เดิมพื้นที่วนอุทยานโกสัมพี เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ (ดอนมเหศักดิ์) ตั้งอยู่บ้านคุ้มกลาง ตำบลหัวขวาง ในเขตเทศบาล ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม อยู่ติดแม่น้ำชี และมีองค์หลวงพ่อมิ่งเมือง ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้าน คู่เมืองของชาวอำเภอโกสุมพิสัยกราบไหว้บูชา นอกจากนี้ยังมีดอนปู่ตา พื้นที่มีสภาพเป็นป่าไม้เบญจพรรณ ต้นไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นขึ้นเป็นจำนวนมากและมีฝูงลิงแสมอาศัยอยู่เป็นจำนวน กว่า 500 ตัว ป่าหนองบุ่งแห่งนี้ เป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ มีศาลเจ้าปู่ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวอำเภอโกสุมพิสัยแม้แต่ลิงแสมที่อาศัยอยู่เขตวนอุทยานโกสัมพีก็เชื่อกันว่า เป็นลิงของเจ้าปู่ไม่มีใครกล้าแตะต้อง
แต่เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรงทางจังหวัดมหาสารคามจึง ได้เสนอขอให้กรมป่าไม้มาดำเนินการจัดการ พื้นที่สาธารณประโยชน์แห่งนี้ให้เป็นวนอุทยานเพื่อให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนโดยทั่วไปและกรมป่าไม้โดยส่วนอุทยานแห่งชาติ จึงได้เข้ามาดำเนินการแต่งตั้งเป็นวนอุทยาน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันโดยมีชื่อว่า "วนอุทยานโกสัมพี"

ลักษณะโดยทั่วไป
แต่เดิมป่าแห่งนี่ จัดเป็นวัฒนธรรม หรือป่าที่คนอีสานเรียกว่า "ป่าดอนปู่ตา" ระบบนิเวศของป่าแห่งนี้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ คือ บริเวณป่าที่มีน้ำท่วมไม่นาน ที่คนอิสานเรียกว่า "ป่าบุ่งป่าทาม" ประกอบด้วยทรัพยากรป่าไม้และสภาพนิเวศวิทยาค่อนข้าง สมบูรณ์ อยู่ติดบริเวณริมฝั่งแม่น้ำชี มีลิงแสมอาศัยกว่า 500 ตัว และนับว่าจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น และยังมีหนองน้ำธรรมชาติอยู่ตรงกลางซึ่งชาวบ้านเรียกว่าหนองบุ่งมีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ มีน้ำขังตลอดปี ลึกประมาณ 1-5 เมตร มีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้น อยู่เป็นจำนวนมากเช่น ไม้ยาง ไม้กระเบา ตะโก ข่อย มะเดือ ไม้ไผ่ สำหรับไม้กระเบา ไม้หว้า เป็นทั้งอาหารและยาของลิงแสม



 จุดที่น่าสนใจของวนอุทยาน  

• แก่งตาด อยู่ในลำชีด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกของวนอุทยานโกสัมพี มีหินดาน เป็นบริเวณกว้างในช่วงฤดูแล้ง ธันวาคม-พฤษภาคม น้ำจะตื้นเขิน มองเห็นดินดาน มีน้ำไหลรินกระทบหินดานสาดกระเซ็นเป็นฟองและคลื่นขาวสะอาด สวยงาม และแปลกตา และบริเวณติดต่อกับริมฝั่งลำน้ำชี ก็มีทัศนียภาพสวยงาม ร่มรื่น เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวพักผ่อน หย่อนใจ จับปลา กินข้าวป่า เป็นอย่างยิ่ง
• ลานข่อย วนอุทยานโกสัมพีได้พัฒนาตกแต่งดัดแปลง ต้นข่อยที่มีอยู่เดิมตาม ธรรมชาติได้เป็นแคระตกแต่งเป็นรูปต่าง ๆ มีให้ชมกว่า 200 ต้น ลิงแสม เป็นสัตว์ป่าประจำถิ่นของป่าแห่งนี้ โดยลิงแสมในวนอุทยานโกสัมพีจะมีลักษณะ 2 สี คือลิงแสมสีเทาและลิงแสมสีทอง และลิงแสมสีทองจะมีเฉพาะในวนอุทยานแห่งเดียว ซึ่งหาดูได้ยากในประเทศไทย คือ "วนอุทยานโกสัมพี"
• บุ่ง อยู่ข้างริมฝั่งชีใกล้กับแก่งตาด มีต้นไม้ใหญ่ๆ และเถาวัลย์นาๆ ชนิด มีหนองน้ำตลอดปี และเป็นที่อยู่ของฝูงลิง เป็นสถานที่ร่มเย็นฤดูแล้งหน้าร้อนเข้าพักผ่อนหย่อนใจได้ดี หากได้รับการตกแต่งประดิษฐ์แล้วจะเป็นสวนสัตว์และทิวทัศน์อวดแขกบ้านชาวเมืองได้แห่งหนึ่ง และในขณะนี้แขกต่างเมืองก็เข้าไปเดินเล่นและชมหมู่ลิงอยู่เสมอ

• พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า มีพรรณไม้หลายชนิดส่วนใหญ่ที่สำคัญได้แก่ กะเบา ยาง ชมภู่ป่า หว้า ทองกวาว กระโดดสำหรับไม้พื้นล่างส่วนใหญ่ ได้แก่ เถาวัลย์เปรียง หวาย ตดตะกั่ว มะดัน นมแมว คัดเค้า และไม้ไผ่ นอกจากนั้นยังมีต้นจามจุรี หรือก้ามปู ซึ่งชาวบ้านนำไปปลูกไว้ นอกจากจะมีพรรณไม้ดังกล่าวมาแล้ว ยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยไม้มีค่านานาชนิด อาทิเช่น มะค่าโมง ตะเคียนทอง ตะแบกใหญ่ เป็นต้น สัตว์ป่าที่ยังมีเหลืออยู่ในปัจจุบันที่สำคัญได้แก่ ลิง ซึ่งมีอยู่ 2 ฝูง จำนวนประมาณ 500 ตัว และยังมีนกกางเขนบ้าน นกกิ้งโค้ง นกสาริกา นกเอี้ยงหงอน นกปรอดสวน นกปรอดหัวโขน นกอีเสือหัวดำ และพวกนกกระจิบธรรมดา



สถานที่ติดต่อ
วนอุทยานโกสัมพี บ้านคุ้มกลาง ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 44140 หรือ ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 5795743 , 5797223

การเดินทาง
วนอุทยานโกสัมพี ตั้งอยู่บริเวณเขตเทศบาล ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ปัจจุบันการคมนาคม เข้าถึงเขตวนอุทยานโกสัมพี ค่อนข้างจะสะดวกสบาย จึงเหมาะสำหรับการเดินทางมาพักผ่อนหย่อนใจ ในระยะสั้นเช้ามาเย็น กลับ หรือจะค้างแรม โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวที่อากาศเย็นสบาย สำหรับการเดินทางมาวนอุทยานโกสัมพี คือ จากตัวเมืองจังหวัดมหาสารคามเดินทางตามแนวทางหลวงหมายเลข 208 ไปอำเภอโกสุมพิสัย ให้เดินทางตรงลงมาอีก 600 เมตร ตามเส้น ทาง ร.พ.ช.สาย 508 (บ้านคุ้มกลาง-โพนงาม) ให้เลี้ยวขวาก็จะถึงที่ทำการ "วนอุทยานโกสัมพี" รวมระยะทาง 30 กิโลเมตร




ความเป็นมาพระธาตุนาดูน

พระธาตุนาดูน





อำเภอนาดูน เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณแห่งหนึ่งที่มีประวัติอันยาวนาน โดยบริเวณที่ตั้งของอำเภอนาดูนคือ เมืองจัมปาศรีที่เจริญรุ่งเรือนในสมัยทวารวดี เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-15 ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ค้นพบมากมาย สรุปความดังนี้ ถิ่นฐานอารยธรรมจัมปาศรีในอดีตกาล สันนิษฐานได้ว่ามีความเจริญรุ่งเรืองมา 2 ยุค คือ
1. ยุคทวารวดี ระหว่าง พ.ศ. 1000-1200
2. ยุคลพบุรี ระหว่าง พ.ศ. 1600-1800

ในราวพุทธศตวรรษที่ 13-16 ภายในตัวเมืองและนอกเมืองมีเจดีย์สมัยทวารวดีอยู่ 25 องค์ (ขณะนี้ได้ขุดค้นพบแล้ว 10 องค์) เจ้าผู้ครองเมืองนครจำปาศรี นับตั้งแต่ พระเจ้ายศวรราช ได้สร้างสถานที่สักการะบูชาในพิธีทางศาสนาพราหมณ์และพุทธ เช่น เทวาลัย ปรางค์กู่ เป็นต้น ซึ่งถือว่าได้เจริญรุ่งเรืองทั้งในด้านศาสนา วัฒนธรรม และการปกครอง จนถึงขีดสุดแล้วได้เสื่อมถอยลงจนถึงยุคอวสานในสมัยพระเจ้าฟ้างุ่มแหล่งหล้าธรณี





ประวัติการขุดพบองค์พระธาตุนาดูน


ในปีพุทธศักราช 2522 กรมศิลปากรและราษฎร์ในตำบลนาดูนได้ขุดพบพระบรมสารีริกธาตุจากเนินดินที่เป็นซากโบราณสถาน ในบริเวณที่นาของ นายทองดี ปะวะภูตา ราษฎร์บ้านนาดูน ท้องที่หมู่ที่ 1 ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ได้พระพิมพ์ต่างๆเป็นจำนวนมาก ข่าวการขุดค้นพบพระพิมพ์ดินเผาได้แพร่ กระจายออกไป ทำให้ประชาชนที่ทราบข่าวเดินทางมา ขุดค้นอย่างมากมาย และหน่วยศิลปากรที่ 7 ขอนแก่น ได้เข้ามาทำการขุดแต่งโบราณสถานตรงที่ขุดพบพระพิมพ์เพื่อรักษาสภาพสถูปองค์เดิมไว้แต่กระทำไม่สำเร็จเพราะฝูงชนจำนวน มหาสาร ได้เข้ามาแย่งชิงค้นหาพระพิมพ์ เจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ 7 ขอนแก่น ต้องยุติการขุดแต่งและปล่อยให้ประชาชนขุดค้นหาต่อไป จนกระทั่งวันที่ 8 มิถุนายน 2522 นายบุญจันทร์ เกศแสนศรี นักการพานโรงสำนักที่ดินอำเภอนาดูน และได้ขุดค้นพบสถูปพระบรมสารีริกธาตุมีสัณฐานดังเกล็ดแก้วประดิษฐ์สถานในผอบ 3 ชั้น ชั้นในเป็นทองคำ ชั้นกลาวงเป็นเงิน ชั้นนอกเป็นสำริด สวดซ้อนกันเรียงตามลำดับ และบรรจุอยู่ในสถูปจำลองอีกชั้นหนึ่ง เป็นสถูปโลหะ ทรงกลมสูง 24.4 เซนติเมตร ถอดออกเป็น 2 ส่วน ส่วนยอดสูง 12.3 เซนติเมตร ส่วนองค์สถูปสูง 12.1 เซนติเมตร นอกจากนั้นที่ด้านหลังพระพิมพ์บางองค์ยังมีจารึกเป็นภาษาขอมโบราณและมอญโบราณ



รัฐบาลได้เห็ฯความสำคัญของศิลปะโบราณวัตถุเล่านี้จึงได้ดำเนินการก่อสร้างพระธาตุนาดูนขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โดยบริเวณรอบๆ
          

ชาวจังหวัดมหาสารคาม คาดการณ์ว่า อุบัติการณ์ของพระบรมสารีริกธาตุครั้งนี้นับเป็นนิมิตหมายอันดี แก่ชาวจังหวัดมหาสารคามอย่างยิ่ง สมควรสร้างพระสถูปเจดีย์ประดิษฐาน ไว้ให้ถาวรมั่นคง เป็น ปูชนียสถานและสิริมงคลแก่ภูมิภาคนี้ต่อไป และเพื่อสืบทอดพระบวรศาสนาตามแนวทางแห่งบรรพชน จึงจัดสร้างโครงการพุทธมณฑลอีสานขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ พุทธศักราช 2525-2529 ประกอบด้วยสถานที่สำคัญ คือ เจดีย์พระธาตุนาดูนที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ศูนย์พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมจำปาศรี เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับ อานาจักร จัมปาศรี นครโบราณของบริเวณนี้ซึ่งอยู่ในสมัยทวารวดี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-16 ประกอบด้วย วัด ส่วนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ศาลาพัก แหล่งน้ำ และถนน กำหนดพื้นที่ก่อสร้าง ณ โคกดงเค็ง มีปริมณฑล 902 ไร่เศษ เจดีย์พระธาตุนาดูน มีลักษณะประยุกต์จากสถูปจำลองที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ กับลักษณะศิลปากร แบบทวารวดีออกแบบและดำเนินการสร้างโดยกรมศิลปากรสูง 50.50 เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 35.70 เมตร พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีได้ประกอบ พิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2528 ก่อสร้างสำเร็จบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2529 สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 7,580,000 บาท (เจ็ดล้านห้าแสนแปดหมื่นบาทถ้วน) ครั้นวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 พระบาทสมด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมงกุฏราชกุมารเสด็จพรัราชดำเนินแทนพระองค์มาทรงประกอบพิธีอันเชิญพระบรมสารีริกธาตุเข้าบรรจุ ในองค์ เจดีย์พระธาตุนาดูนนี้



ลักษณะโครงสร้างองค์พระธาตุนาดูน


รูปลักษณะพระธาตุนาดูน จำลองแบบจากสถูปสำริดที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ฐานประยุกต์แบบศิลปทวาราวดี ฐานกว้าง 35.70 * 35.70 เมตร มีความสูงจากฐานถึงยอด 50.50 เมตร ฐานรากและโครงสร้างทั่วไปเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ทั้งหมด ผนังภายนอกพระธาตุส่วนใหญ่ทำด้วยหินล้างเบอร์ 4 บางแห่งฉาบปูนเรียบสีขาว มีลวดลายลวดบัว เสาบัวต่าง ๆ จำลองแบบ พระเครื่องพิมพ์ต่าง ๆ ที่ขุดพบมาประดิษฐานพระธาตุจำนวน 32 รูป และมีมารแบกปั้นเป็นแบบนูนสูงประดับที่ฐาน จำนวน 40 ตัว
ตัวองค์พระธาตุจะแบ่งออกเป็น 16 ชั้น ลักษณะการก่อสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมด ภายในโปร่ง จากฐานรากขึ้นไปชั้นที่ 1 สูง 3.7 เมตร


ชั้นที่ 1
คือฐานรากมีจำนวนฐานททั้งหมด 105 ฐาน มีเสาขึ้นจากฐานทั้งหมด 144 ต้น ส่วนฐานที่เป็นองค์พระธาตุมีลักษณะกลม มีเสาทั้งหมด 16 ต้น ชั้นที่ 1 มีพื้นทางเดินโดยรอบ และมีซุ้มประตูลายปูนปั้น 4 ประตูประจำทิศ ผนังประดับด้วยกระเบื้องด่านเกวียนศิลปะของ ภาคอีสาน พื้นปูด้วยกระเบื้องเซรามิก 6 เหลี่ยม ผนังทั่วไปทำด้วยหินล้าง

ชั้นที่ 2
สูงจากชั้นที่หนึ่ง 5.00 เมตร โครงสร้างมีเสาทั้งหมด 86 ต้น มีพื้นที่โดยรอบ สำหรับก่อสร้างเจดีย์องค์เล็กประจำทิศเหนือ ทั้ง 4 และพระพุทธรูปประจำซุ้ม 4 องค์ ผนังประกอบด้วยปูนปั้นเป็นรูปเสามีบัวเหนือเสา พื้นปูด้วยกระเบื้องเซรามิก 6 เหลี่ยม ผนังทั่วไป ทำด้วยหินล้างและประดับกระเบื้องด่านเกวียน



ชั้นที่ 3
สูงจากชั้นที่สอง 4.80 เมตร โครงสร้างมีเสาทั้งหมด 44 ต้น มีพื้นโดยรอบ สำหรับก่อสร้างเจดีย์องค์เล็กประจำทิศเฉียง 4 องค์ เช่นเดียวกับชั้นที่ 2 พื้นปูด้วยกระเบื้อง เซรามิก 6 เหลี่ยม ผนังทั่วไปทำด้วยหินล้าง

ชั้นที่ 4
สูงจากชั้นที่สาม 1.60 เมตร ประกอบด้วยฐาน 8 เหลี่ยม เป็นชั้นเริ่มต้นของ ตัวองค์พระธาตุ โครงสร้างประกอบด้วยเสาทั้งหมด 24 ต้น ผนังทั่วไปทำด้วยหินล้าง

ชั้นที่ 5
สูงจากชั้นที่สาม 1.00 เมตร ประกอบด้วยฐานบัวกลม โครงสร้างประกอบ ด้วยเสาทั้งหมด 16 ต้น ผิวภายนอกทำด้วยหินล้าง


ชั้นที่ 5 ถึงชั้นที่ 10มีความสูง 11.00 เมตรเป็นตัวองค์ระฆังของพระธาตุโดยเฉพาะชั้นที่ 8 จะเป็นชั้นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โครงสร้างประกอบด้วยเสาทั้งหมด 16 ต้น จนถึงชั้นที่ 9

ชั้นที่ 10
ชั้นที่ 10 ลดเหลือเสา 9 ต้น ลักษณะองค์ระฆังภายนอกทำด้วยหินล้างทั้งหมด เป็นชั้นบัลลังก์ ลักษณะโครงสร้างมีเสาทั้งหมด 5 ต้น ผนังทำด้วยหินล้าง



ชั้นที่ 11

ชั้นที่ 11 ถึงชั้นที่ 14 มีความสูง 4.60 เมตร เป็นชั้นบัลลังก์ประกอบด้วยลักษณะทรงกลมมีลายปูนปั้นเป็นกลีบบัว โครงสร้างประกอบด้วยเสา 5 ต้น ผนังทำด้วยหินล้างทั้งหมด

ชั้นที่ 14-16 ชั้นที่14 ถึงชั้นที่ 16มีความสูง 6.80 เมตร เป็นชั้นปล้องไฉน มีทั้งหมด 6 ปล้อง โครงสร้างประกอบด้วยเสาแกนต้นเดียว ปล้องไฉนทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ผิวทำด้วยหินล้าง ในส่วน ชั้นที่ 16 ถึงยอดคือปลียอด มีชั้นปลี ชั้นลูกแก้ว และะชั้นฉัตรยอด โครงสร้าง ประกอบด้วยเสาแกนต้นเดียว ผนังผิวทำด้วย หินล้างโดยรอบ ส่วนฉัตรยอดบุด้วยโมเสกแก้วสีทอง





ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ปี
เนื่องในวันวิสาขบูชาโล ณ พระบรมธาตุนาดูน

การเดินทางไปแหล่งท่องเที่ยว
เดินทางจากตัวเมืองมหาสารคามใช้เส้นทางหมายเลข 2040 ผ่านอำเภอแกดำ อำเภอวาปีปทุม แล้วเลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหมายเลข 2045 ถึงอำเภอนาดูน ห่างจากตัวเมืองมหาสารคาม ประมาณ 65 กิโลเมตร